เมนู

อยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว
หอยโข่งและหอยกาบต่าง ๆ บ้าง ก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้ กำลัง
ว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระนั้นดังนี้ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็
ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตน
เองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล
สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[355] ดูก่อนอุทายี นี้แลธรรมข้อที่ห้าอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลาย
ของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วพึ่งเราอยู่.
ดูก่อนอุทายี ธรรมห้าประการนี้แล เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเรา
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วพึ่งเราอยู่ ฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว สกุลุทายีปริพาชกยินดี
ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.
จบมหาสกุลุทายิสูตรที่ 7

7. อรรถกถามหาสกุลุทายิสูตร


มหาสุกุลุทายิสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้
สดับมาอย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า โมรนิวาเป คือในที่นั้นชนทั้งหลายได้
ประกาศให้อภัยแก่นกยูงทั้งหลายแล้วได้ให้อาหาร. เพราะฉะนั้นที่นั้นจึงชื่อว่า

โมรนิวาปะ เป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง. บทว่า อนฺนภาโร เป็นชื่อของปริพาชก
ผู้หนึ่ง. เหมือนวรตระก็เป็นชื่อปริพาชกเหมือนกัน. บทว่า อญฺเญ จ ไม่เพียง
ปริพาชก 3 คนนี้เท่านั้น แม้ปริพาชกอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงก็มีอยู่มาก. ในบทนี้ว่า
อปฺปสพฺทสฺส วณฺณวาที พระสมณโคดมทรงกล่าวสรรเสริญคุณของเสียง
เบา ท่านไม่กล่าวว่า อปฺปสทฺทวินีโต แนะนำให้มีเสียงเบา จึงกล่าวบทนี้.
เพราะเหตุไร. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแนะนำผู้อื่น. บทว่า ปุริมานิ
วันก่อน ๆ คือ วันก่อน ๆ หมายถึงเมื่อวานนี้. หลังจากนั้นเป็นวันก่อนหลัง
จากวานนี้. ไม่มีศาลาเฉพาะจึงชื่อว่า กุตูหลสาลา (ศาลาแพร่ข่าว). ศาลาที่
พวกเดียรถีย์ต่าง ๆ สมณพราหมณ์ประชุมสนทนากันหลายอย่างท่านเรียกว่า
กุตูหลสาลา เพราะเป็นที่แพร่ข่าวของชนเป็นอันมากว่า คนนี้พูดอะไร คน
นี้พูดอะไร. ปาฐะว่า โกตูหลสาลา บ้าง. บทว่า ลาภา ความว่า นี้เป็นลาภ
ของชาวอังคะ มคธะ ที่จะได้เห็นสมณพราหมณ์ ถามปัญหา หรือฟังธรรม
กถาของสมณพราหมณ์เหล่านั้น.
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า สงฺฆิโน เจ้าหมู่ ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า
สงฺฆิโน เพราะมีหมู่คือหมู่บรรพชิต. ชื่อว่า คณิโน เจ้าคณะ เพราะมีคณะ
นั้นนั่นแล. ชื่อว่า คณาจริยา เพราะเป็นอาจารย์ของคณะนั้น ด้วยให้ศึกษา
ถึงอาจาระ. บทว่า ญาตา คือมีชื่อเสียง เป็นผู้ปรากฏ. ชื่อว่า ยสสฺสิโน
เพราะมียศสูงด้วยคุณตามที่ไม่จริงและด้วยคุณตามที่เป็นจริง. ก็บูรณกัสสป
เป็นต้นมียศสูงโดยนัยมีอาทิว่า เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ แม้ผ้าก็
ไม่นุ่งเพราะเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย. ยศของพระตถาคตสูงด้วยพระคุณตาม
ที่เป็นจริงมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้. บทว่า ติตฺถกรา คือเจ้าลัทธิ.
บทว่า สาธุสมฺมตา คือชนเป็นอันมากสมมติกันอย่างนี้ว่า ดี งาม เป็นสัตบุรุษ.

บทว่า พหุชนสฺส ชนเป็นอันมาก คือ คนอันธพาล และพาลปุถุชนผู้ไม่มี
การศึกษา และบัณฑิตชนผู้มีปัญญา. ในชนเหล่านั้นพวกเดียรถีย์เขาสมมติว่า
เป็นพาลชน. พระตถาคตเขาสมมติว่าเป็นบัณฑิตชน. โดยนัยนี้พึงทราบความ
ในบทมีอาทิว่า ปูนโณ กสฺสโป สงฺฆี บูรณกัสสปเป็นเจ้าหมู่. ก็เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกอารมณ์ 38 ได้ทรงกระทำท่าเป็นที่หยั่งลงสู่
นิพพานไว้มาก ฉะนั้นควรกล่าวว่าเป็น ติตฺถกโร ผู้ทำท่า. ก็เพราะเหตุไรเจ้า
ลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดจึงมาประชุมในที่นั้น. เพื่อรักษาอุปัฏฐากและเพื่อลาภ
สักการะ. ได้ยินว่าเจ้าลัทธิเหล่านั้นมีความวิตกว่า อุปัฏฐากของพวกเราพึงพา
กันถึงพระสมณโคดมว่าเป็นที่พึ่ง. พวกเราจักดูแลอุปัฏฐากเหล่านั้น. แม้อุปัฏ-
ฐากของพวกเราเห็นอุปัฏฐากของพระสมณโคดมทำสักการะ ก็จักทำสักการะแก่
พวกเราบ้าง. เพราะฉะนั้นเจ้าลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดจึงพากันไปประชุมในที่ที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าประชุม.
บทว่า วาทํ อาโรเปตฺวา พากันยกโทษ คือ ยกโทษในวาทะ. บทว่า
อปกฺกนฺตา คือพากันหลีกไป บางพวกพากันหลีกไปสู่ทิศ. บางพวกสึก
บางพวกมาสู่ศาสนานี้. บทว่า สหิตมฺเม ถ้อยคำของเราเป็นประโยชน์ คือถ้อย
คำของเรามีประโยชน์สละสลวยประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยเหตุ. บทว่า
อสหิตํ คือถ้อยคำของท่านไม่ประกอบด้วยประโยชน์. บทว่า อธิจิณฺณนฺเต
วิปราวตฺตํ ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ความว่า ข้อที่ท่านเคยมี
ความคล่องแคล่วด้วยสะสมมาเป็นเวลานานได้ผันแปรไปแล้วด้วยคำพูดคำเดียว
ของเรา ไม่เกิดอะไรขึ้น. บทว่า อาโรปิโต เต วาโท คือเราจับผิดวาทะของ
ท่านได้แล้ว. บทว่า จร วาทปฺปโมกฺขาย ท่านจงถอนวาทะของท่านเสีย ความ
ว่า จงพระพฤติเพื่อปลดเปลื้องความผิด คือจงศึกษาเพื่อไปในที่นั้น ๆ. บทว่า

นิพฺพิเธหิ วา สเจ ปโหสิ หรือจงแก้ไขเสียถ้าสามารถ คือ หากสามารถด้วย
ตนเอง จงแก้ไขเสียในบัดนี้ทีเดียว. บทว่า ธมฺมกฺโกเสน ด้วยคำติเตียน
โดยธรรมคือด้วยคำติเตียนที่เป็นจริง. บทว่า ตน โน โสสฺสาม คือเราทั้งหลาย
จักฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พวกเรา. บทว่า ขุทฺทํ มธุํ คือรังผึ้งที่
ตัวอ่อนทำไว้. บทว่า อเนลกํ ไม่มีโทษ คือรังผึ้งที่ปราศจากตัวอ่อน. บทว่า
ปีเฬยฺย คือพึงให้. บทว่า ปจุจาสึสมานรูโป หมู่มหาชนคอยหวังอยู่ คือ
ถือภาชนะตั้งความหวังว่า บุรุษนั้นจักให้เราจนเต็มภาชนะไหมหนอ. บทว่า
สมฺปโยเชตฺวา บาดหมางกัน คือเถียงกันเล็กน้อย. บทว่า อิตรีตเรน คือ
ตามมีตามได้. บทว่า ปวิวิตฺโต พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้สงัด ปริพาชก
กล่าวคำนี้หมายถึงเพียงกายวิเวก. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงัดด้วยวิเวก 3.
บทว่า โกสกาหารา คืออาหารเพียงเท่าโกสกะ ในเรือนของทาน-
บดีมีถ้วยเล็กเพื่อใส่อาหารอย่างดี. ทานบดีทั้งหลายใส่อาหารดีไว้ในถ้วยนั้น
แล้วบริโภค. เมื่อบรรพชิตมาถึง ก็ถวายอาหารแก่บรรพชิตนั้น ถ้วยนั้นเรียกว่า
โกสกะ เพราะฉะนั้นบุคคลใดยังชีวิตให้เป็นไปด้วยอาหารถ้วยหนึ่ง บุคคล
นั้นชื่อว่า โกสกาหารา มีอาหารเพียงเท่าโกสกะ. บทว่า เวฬุวาหารา คือมี
อาหารเพียงเท่าภัตใส่ในผลมะตูม. บทว่า สมติตฺติกํ เสมอขอบ คือเสมอลวด
ลายข้างล่างแห่งขอบปากบาตร. บทว่า อิมินา ธมฺเมน คือโดยธรรมเพราะ
ความเป็นผู้มีอาหารน้อยนี้. อนึ่งในบทนี้ไม่ควรกล่าวว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
มีอาหารน้อยโดยอาการทั้งปวง. ทรงมีอาหารน้อยตลอด 6 ปี ณ ที่ทรงบำเพ็ญ
เพียร. ทรงยังพระชนม์ชีพให้เป็นไปด้วยข้าวแล่งหนึ่งตลอด 3 เดือน ในเมือง
เวรัญชา. ทรงยังพระชนม์ชีพให้เป็นไปด้วยเหง้าบัวเท่านั้นตลอด 3 เดือน ใน
ปาริไลยกไพรสณฑ์. แต่ในที่นี้พระองค์ทรงแสดงถึงความนี้ว่า เราได้มีอาหาร

น้อยในกาลหนึ่ง แต่สาวกทั้งหลายของเราไม่ทำลายธุดงค์ตลอดชีวิตตั้งแต่
สมาทานธุดงค์. เพราะฉะนั้น ผิว่าสาวกทั้งหลายเหล่านั้นพึงสักการะเราโดย
ธรรมนี้. ด้วยว่า สาวกเหล่านั้นเป็นผู้วิเศษโดยเรา ย่อมสักการะเราด้วยธรรม
อื่นที่มีอยู่. ท่านแสดงไว้ดังนี้. โดยนัยนี้พึงทราบโยชนาในทุกวาระ.
บทว่า ปํสุกูลิกา ถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร คือสมาทานปังสุกูลิกังคธุดงค์.
บทว่า ลูขจีวรธรา ทรงจีวรเศร้าหมองด้วยด้าย 100 เส้น. บทว่า นนฺตกานิ
ผ้าเก่า คือชิ้นผ้าที่ไม่มีชาย. จริงอยู่ ผิว่า ผ้าเหล่านั้นพึงมีชาย ผ้าเหล่านั้น
เรียกว่า ปิโลตกา ผ้าขี้ริ้ว. บทว่า อุจฺจินิตฺวา เลือกเก็บ คือฉีกทิ้งส่วนที่ใช้
ไม่ได้ถือเอาส่วนที่ยังใช้ได้เท่านั้น. บทว่า อลาวุโลมสานิ คือเส้นด้าย
เช่นกับขนน้ำเต้า. ท่านแสดงว่า ละเอียด. ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ไม่ควรกล่าว
ว่าพระศาสดามิได้ทรงสันโดษด้วยจีวรสันโดษ. เพราะในวันที่พระองค์ทรง
รับเอาผ้าบังสกุลทำด้วยเปลือกไม้ ที่นางปุณณทาสีนำมาจากป่าช้าผีดิบถวาย
มหาปถพีได้ไหวจนกระทั่งถึงน้ำเป็นที่สุด พระองค์ทรงแสดงความในบทนี้ไว้ว่า
เรารับผ้าบังสกุลครั้งเดียวเท่านั้น. แต่สาวกทั้งหลายของเราไม่ทำลายธุดงค์จน
ตลอดชีวิต จำเดิมแต่สมาทานธุดงค์.
บทว่า ปิณฺฑปาติกา ถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ปฏิเสธอติเรกลาภ
สมาทานปิณฑปาติกังคธุดงค์. บทว่า สปทานจาริโน คือ เที่ยวไปตามลำดับ
ตรอกเป็นวัตร คือ ปฏิเสธโลลุปปจาร (การเที่ยวไปด้วยความโลภ) แล้ว
สมาทานสปทานจาริกวัตร. บทว่า อุจฺจาปเก วตฺเต รตา ยินดีในวัตรชั้น
สูงของตน ความว่า ยินดีในวัตรตามปรกติของภิกษุทั้งหลาย กล่าวคือการเที่ยว
ไปเพื่ออาหารเลี้ยงชีพ เป็นผู้ยืนที่ประตูเรือนทั้งสูงและต่ำ สำรวมอาหารที่ปน
กันเป็นคำแล้วฉัน. บทว่า อนฺตรฆรํ ละแวกบ้าน คือละแวกเรือนตั้งแต่

ธรณีประตู ดังได้กล่าวแล้วในพรหมายุสูตร. ในที่นี้ท่านประสงค์ตั้งแต่ เสา
เขื่อน. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่ควรกล่าวว่า พระศาสดาไม่ทรงสันโดษ ด้วย
บิณฑบาตสันโดษ. ทั้งหมดพึงพิสดารโดยทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้ว เพราะ
ความเป็นผู้มีอาหารน้อย. แม้ในที่นี้พระองค์ก็ทรงแสดงความนี้ไว้ว่า เราไม่
ยินดีรับนิมนต์ในเวลาเดียวเท่านั้น. แต่สาวกทั้งหลายของเรา ไม่ทำลายธุดงค์
ตลอดชีวิต ตั้งแต่สมาทานธุดงค์.
บทว่า รุกฺขมูลิกา ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือ ปฏิเสธที่มุงบัง
สมาทานรุกขมูลิกังคธุดงค์. บทว่า อพฺโภกาสิกา ถืออยู่กลางแจ้งเป็นวัตร
คือ ปฏิเสธที่มุงบังและโคนไม้แล้วสมาทานอัพโภกาสิกังคธุดงค์. บทว่า อฏฺฐ-
มาเส
ตลอด 8 เดือน คือ ตลอดเดือนในฤดูเหมันต์และคิมหันต์. แต่ในภาย
ในฤดูฝนเข้าไปสู่ที่มุงบังเพื่อรักษาจีวร. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่ควรกล่าวว่าพระ-
ศาสดาไม่ทรงสันโดษด้วยเสนาสนสันโดษ. แต่พึงแสดงเสนาสนสันโดษของ
พระองค์ ด้วยมหาปธานตลอด 6 ปี และด้วยปาริไลยกไพรสนฑ์ แต่ในที่นี้
พระองค์ทรงแสดงความนี้ไว้ว่า เราไม่เข้าไปสู่ที่มุงบังในกาลหนึ่งเท่านั้น. แต่
สาวกของเราไม่ทำลายธุดงค์ตลอดชีวิตตั้งแต่สมาทานธุดงค์.
บทว่า อารญฺญิกา ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือปฏิเสธเสนาสนะท้าย
บ้านแล้วสมาทานอารัญญิกังคธุงค์. บทว่า สงฺฆมชฺเฌ โอสรนฺติ ย่อม
ประชุมในท่ามกลางสงฆ์ ท่านกล่าวถึงใน อพัทธสีมา (สีมาที่ยังมิได้ผูก).
แต่ สาวกผู้อยู่ในพัทธสีมา ย่อมทำอุโบสถในที่อยู่ของตน. ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้ ไม่ควรกล่าวว่าพระศาสดา ไม่ทรงสงัด เพราะความสงัดย่อมปรากฏแก่
พระองค์อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาเพื่อหลีกเร้นอยู่ตลอด 8
เดือน. แต่ในที่นี้พระองค์ทรงแสดงความนี้ไว้ว่า เราหลีกเร้นอยู่ในกาลเห็น

ปานนั้น ครั้งหนึ่ง ๆ. แต่สาวกของเราไม่ทำลายธุดงค์ ตลอดชีวิตตั้งแต่
สมาทานธุดงค์. บทว่า มมํ สาวิกา คือ สาวกทั้งหลายของเรา. บทว่า
สนิทานํ มีเหตุ คือ มีปัจจัย. ก็พระศาสดาไม่ทรงแสดงถึงนิพพานอันไม่มี
ปัจจัยหรือ. ไม่แสดงหามิได้. แต่ทรงแสดงทำเทศนานั้นให้มีเหตุ. บทว่า
โน อเหตฺกํ มิใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ. บทว่า สปฺปาฏิหาริยํ ทรงแสดง
ธรรมมีความอัศจรรย์นี้เป็นไวพจน์ของบทก่อน. อธิบายว่ามีเหตุ. วต ในบท
ว่า ตํ วต เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อนาคตวาทปถํ คลองแห่งวาทะใน
อนาคต คือ คลองแห่งวาทะอันตั้งอยู่ในวันนี้แล้วมาเบื้องบนแห่งปัญหานั้น ๆ ใน
วันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ กึ่งเดือน หรือปีหนึ่ง. บทว่า น ทกฺขติ ย่อมไม่เห็น
คือไม่เห็นโดยอาการที่สัจจกนิครนถ์ ยังเหตุที่ตนมาเพื่อจะข่มขี่ให้วิเศษ เมื่อ
จะกล่าวจึงได้เห็น เพราะเหตุนั้น ข้อนั้นมิใช่ฐานะจะมีได้. บทว่า สหธมฺเมน
เป็นไปกับด้วยธรรม คือ มีเหตุ. บทว่า อนฺตรนฺตรา กถํ โอปาเตยฺยุํ
จะพึงคัดค้าน ๆ ให้ตกไปในระหว่าง ๆ ความว่า ตัดการสนทนาของเราแล้ว
สอดการสนทนาของตนเข้าไปในระหว่าง ๆ. บทว่า น โข ปนาหํ อุทายิ
ความว่า ดูก่อนอุทายี เราไม่หวังคำสอนในสาวกทั้งหลายนี้ว่า เมื่อการ
สนทนาครั้งยิ่งใหญ่กับอัมพัฏฐะ โสณทัณฑะ กูฎฑัณฑะ และสัจจกนิครนถ์
เป็นต้นแม้ยังดำเนินอยู่ ถ้าการใช้สาวกของเรารูปหนึ่ง ควรชักอุปมา หรือ
เหตุมากล่าว. บทว่า มมเยว คือในฐานะอย่างนี้ สาวกทั้งหลายก็มิได้หวัง
โอวาทอันเป็นคำสอนของเรา. บทว่า เตสาหํ จิตฺตํ อาราเธมิ เรายังจิต
ของสาวกเหล่านั้นให้ยินดี คือ เราจะถือเอาจิตของสาวกเหล่านั้นให้ถึงพร้อมให้
บริบูรณ์ด้วยการพยากรณ์ ปัญหาของพระอรหันต์. ถามอย่างหนึ่ง พยากรณ์
อย่างหนึ่ง เหมือนถามมะม่วง พยากรณ์ ขนุนสำมะลอ. ถามขนุนสำมะลอ

พยากรณ์มะม่วงฉะนั้น. อนึ่ง ในบทนี้ ท่านกล่าวถึงศีลของพระพุทธเจ้าในที่
ที่กล่าวไว้แล้วว่า อธิสีเล สมฺภาเวนฺติ ให้สรรเสริญในเพราะอธิศีล. ท่าน
กล่าวถึงสัพพัญญุตญาณในที่ที่กล่าวไว้แล้วว่า อภิกฺกนฺเต ญาณทสฺสเน
สมฺภาเวนติ
ให้สรรเสริญในเพราะญาณทัศนะอันงาม. ท่านกล่าวถึงปัญหา
อันให้เกิดฐานะในที่ที่ท่านกล่าวไว้ว่า อธิปญฺญาย สมฺภาเวนฺติ ให้
สรรเสริญในเพราะอธิปัญญา. ท่านกล่าวถึงปัญหาพยากรณ์สัจจะในที่ที่กล่าวไว้
ว่า เยน ทุกฺเขน ด้วยทุกข์ใด ปัญหาที่เหลือ เว้นสัพพัญญุตญาณ และ
ปัญหาพยากรณ์สัจจะ ย่อมเป็นอธิปัญญา.
บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงบอกปฏิปทา ของสาวกเหล่านั้น ๆ
ผู้บรรลุถึง จึงตรัสว่า ปุน จ ปรํ อุทายิ ดูก่อนอุทายี ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
เป็นอาทิ. ในบทเหล่านั้นบทว่า อภิญฺญาโวสานปารมิปฺปตฺต สาวกของ
เราเป็นอันมากได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา คือ บรรลุอรหัตอัน
เป็นที่สุดแห่งอภิญญา และอันเป็นบารมีมีแห่งอภิญญา. บทว่า สมฺมปฺปธาเน
สัมมัปปธาน 4 คือ ความเพียรอันเป็นอุบาย. บทว่า ฉนฺทํ ชเนติ ยัง
ความพอใจให้เกิด คือ ยังความพอใจในกุศลอันเป็นกัตตุกามยตาฉันทะให้เกิด.
บทว่า วายมติ คือทำความพยายาม. บทว่า วีริยํ อารภติ คือ ปรารภ
ความเพียร ได้แก่ ยังความเพียรให้เป็นไป. บุทว่า จิตฺตํ ปคฺคณฺหติ ย่อม
ประคองจิต คือ ยกจิตขึ้น. บทว่า ปทหติ ย่อมตั้ง คือ ทำความเพียร
ด้วยอุบาย. บทว่า ภาวนาย ปาริปูริยา คือ เพื่อความเจริญ เพื่อความ
สมบูรณ์. อีกอย่างหนึ่งในบทนี้ พึงทราบว่าความตั้งมั่นใด นั้นเป็นความไม่
หลง ความไพบูลย์ใด นั้นเป็นความเจริญและความสมบูรณ์. บทก่อนเป็น
อธิบายของบทหลังด้วยประการฉะนั้นแล.

อนึ่ง บุพภาคปฏิปทา ของพระสาวก ท่านกล่าวไว้ ด้วยปริยายแห่ง
กัสสปสังยุตที่พระมหากัสสปเถระกล่าวไว้ด้วยเรื่องสันมัปปธาน 4 เหล่านี้แล้ว
สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในกัสสปสังยุตนั้นว่า
ดูก่อนอาวุโส สัมมัปปธานของเรามี 4 สัมมัปปธาน 4 เป็นไฉน
ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า
อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความ
เสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามก
ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์
ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อ
ไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส
โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสีย
ประโยชน์.1
อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบว่า อกุศลอันลามกได้แก่โลภะเป็นต้น. บทว่า
อนุปฺปนฺนา กุสลา ธมฺมา กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ได้แก่ สมถวิปัสสนาและ
มรรคเท่านั้น. สมถวิปัสสนาชื่อว่ากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว. ส่วนมรรคเกิดขึ้นครั้งเดียว
แล้วดับไป ไม่ชื่อว่าเป็นไปเพื่อความพินาศ. เพราะมรรคนั้น ให้ปัจจัยแก่ผลแล้ว
จึงดับ. หรือแม้ในบทก่อนท่านกล่าวว่า พึงถือเอาสมถะและวิปัสสนา แต่ข้อนั้น
ไม่ถูก. สมถะและวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้ว ในกุศลธรรมนั้น เมื่อดับไปย่อมเป็นไป
เพื่อความพินาศ. เพื่อความแจ่มแจ้งของเนื้อความ จะนำเรื่องมาเล่าดังต่อไปนี้ .
ได้ยินว่าพระเถระผู้เป็นขีณาสพรูปหนึ่ง คิดว่าเราจักไหว้พระมหาเจดีย์
และพระมหาโพธิ จึงมายังมหาวิหารจากชนบทกับสามเณรผู้ถือภัณฑะผู้ได้
สมาบัติ แล้วเข้าไปยังบริเวณวิหารในตอนเย็น เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ไหว้
พระเจดีย์อยู่. ไม่ออกไปเพื่อไหว้พระเจดีย์. เพราะเหตุไร. เพราะพระขีณาสพ

1. สัง. นิ. 16/ข้อ 463.

มีความเคารพอย่างมากในพระรัตนตรัย. ฉะนั้นเมื่อภิกษุสงฆ์ไหว้กลับไปแล้วใน
เวลาที่พวกมนุษย์บริโภคอาหารในตอนเย็น แม้สามเณรก็ไม่ให้รู้ คิดว่าเราจัก
ไหว้พระเจดีย์ จึงออกไปรูปเดียวเท่านั้น. สามเณรคิดว่า พระเถระไปรูปเดียวใน
มิใช่เวลา เราจักรู้ จึงออกตามรอยเท้าพระอุปัชฌาย์ไป. พระเถระไม่รู้ว่าสามเณร
มา เพราะไม่ได้นึกถึงจึงขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ทางประตูทิศใต้. สามเณรก็ขึ้นตาม
รอยเท้าไป. พระมหาเถระแลดูพระมหาเจดีย์ ยึดปีติในพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
สำรวมใจทั้งหมด ชื่นชมยินดีไหว้พระเจดีย์ สามเณรเห็นอาการไหว้ของพระเถระ
จึงคิดว่า พระอุปัชฌาย์ของเรามีจิตเลื่อมใสอย่างยิ่ง ไหว้พระเจดีย์ ได้ดอกไม้
แล้วพึงทำการบูชาหรือหนอ. เมื่อพระเถระลุกขึ้นไหว้ ยกอัญชลีเหนือศีรษะ
ยืนแลดู พระมหาเจดีย์. สามเณรกระแอมให้พระเถระรู้ว่าตนมา. พระเถระ
เหลียวดูแล้วถามว่า เธอมาเมื่อไร. สามเณรตอบว่า ท่านขอรับในเวลาท่าน
ไหว้พระเจดีย์ ท่านเลื่อมใสเหลือเกินจึงไหว้พระเจดีย์. ท่านได้ดอกไม้แล้วพึง
บูชาหรือ. พระเถระตอบว่าถูกแล้ว สามเณร ชื่อว่าการฝังพระธาตุประมาณ
เท่านี้ นอกจากในพระเจดีย์นี้แล้วย่อมไม่มี. ใครได้ดอกไม้แล้วจะไม่พึงบูชา
มหาสถูปอันไม่มีเหมือนเช่นนี้ได้เล่า. สามเณรกล่าวว่า ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น
ขอท่านจงรอก่อน ผมจักนำดอกไม้มา. ทันใดนั้นเอง สามเณรก็เข้าฌานไป
ป่าหิมพานต์ด้วยฤทธิ์ เก็บดอกไม้สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นใส่ในธมกรกจนเต็ม
เมื่อพระมหาเถระยังไม่ถึงมุขหลัง จากมุขใต้. สามเณรมาวางผ้าธมกรกห่อดอก
ไม้ไว้ที่มือแล้วกล่าวว่า ขอท่านจงบูชาเถิดขอรับ. พระเถระกล่าวว่า สามเณร
ดอกไม้ของเธอยังน้อยนัก. สามเณรกล่าวว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงไป ระลึก
ถึงคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วบูชาเถิด. พระเถระขึ้นบันไดอาศัยมุขหลัง
เริ่มทำการบูชาด้วยดอกไม้ ณ ชั้นแท่นบูชา. ชั้นแท่นบูชาเต็มไปหมด. ดอกไม้
ตกลงไปเต็มในชั้นที่ 2 โดยพื้นที่ประมาณเข่า. พระเถระลงจากชั้นที่ 2 ยัง
แถวหลังเท้าให้เต็ม. แม้แถวหลังเท้านั้นก็เต็ม. พระเถระรู้ว่าเต็มจึงเกลี่ย ที่

พื้นล่างกลับไป. ลานพระเจดีย์ มีดอกไม้เต็มไปหมด. เมื่อลานพระเจดีย์เต็ม
พระเถระกล่าวว่า สามเณร ดอกไม้ยังไม่หมด. สามเณรตอบว่า ท่านขอรับ
ท่านจงคว่ำธมกรกลงเถิด. พระเถระคว่ำธมกรกแล้วเขย่า. ในกาลนั้น
ดอกไม้ก็หมด. พระเถระให้ธมกรกแก่สามเณรแล้วทำประทักษิณพระเจดีย์
มีกำแพงสูง 60 ศอก 3 ครั้ง ไหว้ในที่ทั้ง 4 แห่งแล้วกลับไปยังบริเวณคิดว่า
สามเณรนี้มีฤทธิ์มากแท้ จักสามารถรักษาอิทธานุภาพนี้ไว้ได้หรือหนอ. แต่นั้น
พระเถระเห็นว่า จักไม่สามารถรักษาไว้ได้ จึงกล่าวกะสามเณรว่า สามเณร
บัดนี้เธอมีฤทธิ์มาก ในภายหลัง ครั้นฤทธิ์เสื่อม จักดื่มน้ำซาวข้าวด้วยมือของ
หญิงทอหูกตาบอดช้างเดียว. นี้ชื่อว่าโทษของความเป็นหนุ่ม สามเณรนั้นหวั่น
ใจในถ้อยคำของพระอุปัชฌาย์ (แต่) ไม่ขอร้องว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงบอก
กรรมฐานแก่ผมเถิด. สามเณรคิดว่า พระอุปัชฌาย์ ของพวกเราพูดอะไร
ทำเหมือนไม่ได้ยินคำนั้นได้ไปแล้ว.พระเถระครั้นไหว้พระมหาเจดีย์ และพระ-
มหาโพธิ แล้วจึงให้สามเณรรับบาตรและจีวรไปยังกุเฏฬิติสสมหาวิหาร สาม
เณรเดินตามพระอุปัชฌาย์ไป ไม่ไปบิณฑบาต. แต่ถามว่า ท่านขอรับ ท่าน
จักเข้าไปบ้านไหน ครั้นรู้ว่าบัดนี้พระอุปัชฌาย์ของเราจักไปถึงประตูบ้าน จึง
ถือบาตรและจีวรของตนและของพระอุปัชฌาย์ แล้วเหาะไป ถวายบาตรและ
จีวรแก่พระเถระแล้วจึงเข้าไปบิณฑบาต.
พระเถระสั่งสอนตลอดเวลาว่า สามเณร เธออย่าได้ทำอย่างนั้น ชื่อ
ว่า ฤทธิ์ของปุถุชน ง่อนแง่น ไม่แน่นอนครั้นได้อารมณ์มีรูปเป็นต้นไม่เป็นที่
สบายเพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็ทำลาย. เมื่อการเสื่อมจากสมาบัติมีอยู่การอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ก็ไม่สามารถค้ำจุนไว้ได้. สามเณรไม่ปรารถนาจะฟังว่าพระ-
อุปัชฌาย์ของเรากล่าวอะไร ยังทำเหมือนเดิม. พระเถระไหว้พระเจดีย์ไปโดย
ลำดับแล้วจึงไปยัง กัมพพินทวิหาร. แม้เมื่อพระเถระอยู่ ณ วิหารนั้น สาม-
เณรก็ยังทำอยู่อย่างนั้น.

อยู่มาวันหนึ่ง ธิดาของช่างทอหูกคนหนึ่งรูปงาม ยังอยู่ในปฐมวัย
ออกจากบ้านกัมพพินทะ ลงไปยังสระบัวร้องเพลงเก็บดอกบัว. ในสมัยนั้น
สามเณรไปถึงท้ายสระติดใจเสียงร้องเพลงของหญิงนั้น ดุจคนขายปลาตาบอด
ติดใจเสียงของหญิงยั่วยวนฉะนั้น. ทันใดนั้นเอง ฤทธิ์ของสามเณรนั้นก็เสื่อม ได้
เป็นดุจกาปีกหัก. แต่ด้วยผลของสมาบัติที่ยังมีอยู่ สามเณรไม่ตกไปที่หลังน้ำนั้น
ตกลงเหมือนปุยดอกงิ้วโดยลำดับ ได้ยืนอยู่แล้วใกล้ฝั่งสระปทุม. สามเณรรีบไป
ถวายบาตรและจีวรแก่พระอุปัชฌาย์แล้วกลับ. พระมหาเถระคิดว่า เราเห็นเหตุ
การณ์มาก่อนแล้ว แม้ห้ามสามเณรก็คงไม่กลับ จึงไม่พูดอะไร ๆ เข้าไป
บิณฑบาต. สามเณรไปยืนที่ฝั่งสระบัว รอหญิงนั้นขึ้น. แม้หญิงนั้นก็เหมือน
สามเณรทั้งขณะเหาะและขณะมายืนอยู่รู้ว่า สามเณรนี้กระสันเพราะอาศัยเราเป็น
แน่จึงกล่าวว่า หลีกไปเถิด สามเณร. สามเณรนั้นจึงหลีกไป. หญิงนั้นขึ้น
มานุ่งผ้าแล้วเข้าไปหาสามเณรถามว่า สามเณร ต้องการอะไรหรือ. สามเณร
บอกความนั้น. นางจึงแสดงถึงโทษในการครองเรือนด้วยเหตุหลายอย่างและ
อานิสงส์ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ แม้สอนอยู่ก็ไม่สามารถบรรเทาความ
กระสันของสามเณรนั้นได้ คิดว่า สามเณรนี้เสื่อมฤทธิ์เห็นปานนี้เพราะเราเป็น
เหตุ บัดนี้ไม่ควรจะเสียสละจึงกล่าวว่า สามเณร ท่านจงรออยู่ที่นี่เถิด แล้ว
ไปเรือน บอกเรื่องนั้นแก่มารดาบิดา.
แม้มารดาบิดาก็มาแล้วสอนหลายอย่าง ได้กล่าวกะสามเณรผู้ไม่เชื่อฟัง
ว่าท่านอย่าเข้าใจพวกเราว่ามีตระกูลสูง. พวกเราเป็นเพียงช่างทอหูกสามารถทำ
ได้เพียงงานทอหูกเท่านั้น. สามเณรกล่าวว่า อุบาสก ธรรมดาคนที่เป็นคฤหัสถ์
ควรทำงานทอหูก หรือควรทำงานสานกระจาดก็ได้. ประโยชน์อะไรด้วยเพียง
ผ้าสาฎกนี้ ท่านจงทำงานไปเถิด. ช่างหูกให้ผ้าสาฎกที่ผูกท้องแล้วนำไปเรือน

ยกลูกสาวให้. นายหนุ่มผู้นั้น (สึกจากสามเณรแล้ว) เรียนการงานของช่างหูก
ทำการงานที่โรงกับพวกช่างหูก. บรรดาหญิงของช่างหูกเหล่าอื่น ได้เตรียม
อาหารนำมาแต่เช้าตรู่. ภรรยาของนายหนุ่มนั้นยังไม่มา. นายหนุ่มนั้นเมื่อคนอื่น
พักงานบริโภคอาหาร ยังนั่งกรอหลอดด้ายอยู่. ภรรยาได้ไปภายหลัง. นายหนุ่ม
นั้นจึงพูดตะคอกภรรยาว่า เธอนี่มาช้าเหลือเกิน. ธรรมดามาตุคามรู้ว่า แม้
พระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งมีจิตผูกพันในตน ยังนึกว่าตนเป็นดุจทาส. เพราะฉะนั้น
นางจึงกล่าวว่า ในเรือนของานอื่นเขาสะสมฟืนใบไม้และเกลือไว้. แม้คนทอ-
หูกที่เป็นทาสนำออกจากภายนอกก็ยังมี. แต่ฉันเป็นหญิงตัวคนเดียวเท่านั้น. แม้
ท่านก็ยังไม่รู้ว่า ในเรือนของเรา สิ่งนี้มี สิ่งนี้ไม่มี. หากท่านต้องการก็จงบริโภค
เถิด. หากไม่ต้องการก็อย่าบริโภค. นายหนุ่มนั้นพูดตะคอกว่า เธอไม่เพียง
นำอาหารมาสายเท่านั้นยังกระทบกระเทียบเราด้วยคำพูดอีก แล้วโกรธ เมื่อไม่
เห็นเครื่องทำร้ายอื่นจึงดึงไม้กระสวยทอผ้านั้นเอาหลอดด้ายออกจากกระสวย
แล้วขว้างไป ภรรยาเห็นไม้กระสวยแล่นมาจึงหลบหน่อยหนึ่ง ก็ปลายไม้
กระสวยคม. เมื่อนางหลบ ปลายไม้กระสวยจึงเข้าไปที่หางตาคาอยู่. นางรีบเอา
มือทั้งสองกุมนัยน์ตา. เลือดไหลออกที่ที่ถูกเจาะ. นายหนุ่มนั้นระลึกถึงคำของ
พระอุปัชฌาย์ได้ในเวลานั้นว่า พระอุปัชฌาย์คงหมายถึงเหตุนี้จึงกล่าวกะเราว่า
ในอนาคตเธอจักต้องดื่มน้ำข้าวที่ขยำด้วยมือของหญิงทอหูกตาบอดข้างเดียว.
พระเถระคงจักเห็นเหตุนี้เป็นแน่. จึงเริ่มร้องไห้ด้วยเสียงดังว่า โอ พระคุณ-
เจ้าผู้เห็นกาลไกล. พวกช่างหูกอื่น ๆ ได้กล่าวกะนายหนุ่มนั้นว่า พอทีเถิด
พ่อคุณ อย่าร้องไห้ไปเลย. ธรรมดานัยน์ตาที่แตกแล้วไม่สามารถทำให้เหมือน
เดิมได้ ด้วยการร้องไห้ดอก. นายหนุ่มนั้นกล่าวว่า เรามิได้ร้องไห้ถึงเรื่องนั้น
ดอก แต่เราร้องไห้หมายถึงเหตุนี้ ดังนี้แล้วจึงบอกเรื่องทั้งหมดตามลำดับ

สมถะและวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ เมื่อดับย่อมเป็นไปเพื่อความ
เสียประโยชน์. ยังมีเรื่องอื่นอีก.
ภิกษุประมาณ 30 รูป ไหว้พระกัลยาณิมหาเจดีย์แล้วหยั่งลงสู่ทางใหญ่
ตามทางดงได้เห็นมนุษย์คนหนึ่งทำกรรมในเขตไฟไหม้ในระหว่างทางเดินมา.
ร่างกายของมนุษย์ผู้นั้นได้เป็นดุจเปื้อนด้วยเขม่า. แลดูผ้าสาฎกผืนหนึ่งเปื้อน
ด้วยเขม่านุ่งหนีบรักแร้ ปรากฏดุจตอไม่ถูกไฟไหม้. มนุษย์ผู้นั้นทำการงานใน
ตอนกลางวัน ขนกองไม้ที่ถูกไฟไหม้ครึ่งหนึ่งออกมีผมรุงรังที่หลัง มาผิดทาง
ได้ยืนอยู่เฉพาะหน้าภิกษุทั้งหลาย.
พวกสามเณรเห็นจึงมองดูกันและกันแล้วหัวเราะกล่าวว่า อาวุโส บิดา
ของท่าน ลุงของท่าน อาของท่าน แล้วจึงถามชื่อว่า อุบาสกท่านชื่อไร. ชาย
ผู้นั้นถูกถามถึงชื่อกี่เดือดร้อน ทิ้งกองฟืน จัดแจงนุ่งผ้าไหว้พระมหาเถระแล้ว
จึงกล่าวว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย โปรดหยุดก่อนเถิด. พระมหาเถระทั้งหลายได้
ยืนอยู่. พวกสามเณรมาแล้ว ทำการเย้ยหยันแม้ต่อหน้าพระมหาเถระทั้งหลาย.
อุบาสกกล่าวว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายเห็นผมแล้วหัวเราะเยาะ พระคุณเจ้าอย่า
เข้าใจว่า พวกเราได้บรรลุถึงที่สุดด้วยเหตุเพียงเท่านี้. แม้ผมเมื่อก่อนก็เป็น
สมณะเช่นเดียวกับพวกท่าน แต่พวกท่านมิได้มีแม้เพียงจิตมีอารมณ์เดียว ผม
ได้เป็นผู้มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากในศาสนานี้. ผมถืออากาศแล้วทำให้เป็นแผ่น
ดินได้. ถือแผ่นดินแล้วทำให้เป็นอากาศได้. ทำที่ไกลไห้ใกล้ได้. ทำที่ใกล้ให้
ไกลได้. ผมทะลุไปแสนจักรวาลได้โดยขณะเดียว. พวกท่านจงดูมือของผมซิ
บัดนี้เช่นกับมือลิง. ผมนั่ง ณ ที่นี้ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยมือทั้งสอง
เหล่านี้ได้. ผมทำพระจันทร์และพระอาทิตย์ให้เป็นแท่นรองนั่งล้างเท้าเหล่านี้แล.
ฤทธิ์ของผมเห็นปานนี้ได้สิ้นไปเพราะความประมาท. พวกท่านอย่าได้ประมาท

เลย. เพราะชนทั้งหลายถึงความพินาศเห็นปานนี้ ด้วยความประมาท. ผู้ไม่
ประมาท ย่อมทำที่สุดแห่งชาติชราและมรณะได้. เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายทำ
ผมนี้แหละให้เป็นอารมณ์ แล้วพูดเตือนว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย จงอย่าประมาท
เลยแล้วให้โอวาท เมื่อชายผู้นั้นกล่าวอยู่นั่นเอง ภิกษุ 30 รูป เหล่านั้นถึง
ความสลดใจนี้ เห็นแจ้งอยู่ ได้บรรลุพระอรหัต ณ ที่นั้นเองด้วยประการฉะนี้.
สมถวิปัสสนาที่เกิดขึ้นแล้วแม้อย่างนี้ เมื่อดับไปพึงทราบว่า ย่อมเป็น
ไปเพื่อความพินาศ.
อนึ่งไม่บทว่า อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ ความลามกยังไม่เกิดนี้
พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในบทมีอาทิว่า อนุปฺปนฺโน วา กามาสโว น
อุปฺปชฺชติ
กามาสวะยังไม่เกิดย่อมไม่เกิด.
อนึ่งในบทว่า อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ ความลามกเกิดขึ้นแล้วนี้ มี
ความดังต่อไปนี้. ความลามกเกิดขึ้น 4 อย่าง คือ เกิดขึ้นในปัจจุบัน 1 เกิด
ขึ้นเพราะเสวยผลแล้ว ปราศไป 1 เกิดขึ้น เพราะทำโอกาส 1 เกิดขึ้นเพราะ
ได้ภูมิ 1. ใน 4 อย่างนั้น กิเลสเหล่าใดมีอยู่พร้อมที่จะเกิดเป็นต้น นี้ชื่อว่า
เกิดในปัจจุบัน. อนึ่ง เมื่อกรรมยังแล่นไปเสวยรสแห่งอารมณ์แล้วดับไปชื่อว่า
เสวยผลแล้วปราศไป. กรรมเกิดขึ้นแล้วดับ ชื่อว่า เสวยผลแล้วปราศไป.
แม้ทั้งสองอย่างนั้น ก็ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะเสวยผลแล้วปราศไป. กุศลกรรมและ
อกุศกรรมห้ามวิบากของกรรมอื่นแล้วทำโอกาสแห่งวิบากของตน. เมื่อทำ
โอกาสอย่างนี้ วิบากเมื่อเกิดขึ้น ย่อมชื่อว่า เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่ทำโอกาส. นี้
ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะทำโอกาส. อนึ่งขันธ์ 5 ชื่อว่า เป็นภูมิแห่งวิปัสสนา.
ขันธ์ 5 เหล่านั้น ย่อมมีประเภทเป็นอดีตเป็นต้น. กิเลสที่นอนเนื่องอยู่
ในขันธ์ 5 เหล่านั้น ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบัน. เพราะ

แม้กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธ์ที่เป็นอดีตก็ยังเป็นอันละไม่ได้. แม้กิเลสที่นอน
เนื่องในขันธ์เป็นอนาคต ในขันธ์เป็นปัจจุบัน ก็เป็นอันยังละไม่ได้แท้. นี้ชื่อว่า
เกิดขึ้นเพราะได้ภูมิ. ด้วยเหตุนั้นท่านโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า กิเลสที่ยังถอน
ไม่ขึ้นในภูมิเหล่านั้น ๆ ย่อมชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะได้ภูมิ.
กรรมลามกเกิดขึ้น 4 อย่าง อย่างอื่นอีก คือ เกิดขึ้นเพราะความ
ประพฤติ 1 เกิดขึ้นเพราะยึดถืออารมณ์ 1 เกิดขึ้นเพราะไม่ข่ม 1 เกิดขึ้น
เพราะไม่ถอน 1. ใน 4 อย่างนั้นกรรมที่ยังเป็นไปอยู่ไม่ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะ
ความประพฤติ. เมื่อลืมตาขึ้นคราวเดียวแล้วยึดนิมิตเป็นอารมณ์ กิเลสทั้งหลาย
ในขณะที่ระลึกถึง ๆ ไม่ควรกล่าวว่า จักไม่เกิดขึ้น. เพราะเหตุไร. เพราะยังยึด
ถืออารมณ์อยู่. เหมือนอะไร. เหมือนน้ำนมแห่งต้นน้ำนมที่ถูกขวานฟันแล้ว
เขาไม่ควรกล่าวว่า น้ำนมจักไม่ออก ฉันใด. นี้ก็ฉันนั้นชื่อว่าเกิดขึ้นเพราะ
ยึดถืออารมณ์. กิเลสทั้งหลายที่มิได้ข่มไว้ด้วยสมาบัติ ไม่ควรกล่าวว่า จักไม่
เกิดในฐานะนี้. เพราะเหตุไร. เพราะยังข่มไว้ไม่ได้. เหมือนอะไร เหมือน
หากว่าชนทั้งหลายพึงนำต้มน้ำนมมาด้วยขวาน ไม่ควรกล่าวว่า น้ำนมไม่พึง
ออกในที่นี้ ฉันใด. นี้ก็ฉันนั้นชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะไม่ข่มไว้. อนึ่งกิเลส
ทั้งหลายที่ยังถอนออกไม่ได้ด้วยมรรค ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้เกิดในภวัคคพรหม
พึงให้พิสดารโดยนัยดังกล่าวแล้วด้วยประการฉะนี้แล. นี้ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะ
ยังถอนไม่ได้.
ในกรรมลามกที่เกิดขึ้นเหล่านี้ กรรมเกิดขึ้น 4 อย่างคือ เกิดขึ้นใน
ปัจจุบัน 1 เกิดขึ้นเพราะเสวยผลแล้วปราศไป 1 เกิดขึ้นเพราะทำโอกาส 1
เกิดขึ้นเพราะความพระพฤติ 1 ไม่ถูกทำลายด้วยมรรค. กรรมลามก 4 อย่าง
คือ. กรรมเกิดขึ้นเพราะได้ภูมิ 1. เกิดขึ้นเพราะยึดถืออารมณ์ 1 เกิดขึ้นเพราะ

ข่มไว้ไม่ได้ 1 เกิดขึ้นเพราะถอนไม่ได้ 1 ถูกทำลายด้วยมรรค. เพราะมรรค
เมื่อเกิดย่อมละกิเลสเหล่านี้ได้. มรรคนั้นย่อมละกิเลสเหล่าใดได้ กิเลสเหล่านั้น
ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบัน. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ก็ถ้าว่า
มรรคย่อมละกิเลสอันเป็นอดีตได้ไซร้ ถ้าเช่นนั้นย่อมทำกิเลสที่สิ้นไปแล้วให้
สิ้นไปได้ ย่อมทำกิเลสที่ดับแล้ว ให้ดับไป ที่ปราศไปแล้วให้ปราศไป ที่ตั้งอยู่
ไม่ได้ให้ตั้งอยู่ไม่ได้ กิเลสเป็นอดีตใดไม่มี ย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตนั้นได้.
ก็ถ้าว่ามรรคนั้นย่อมละกิเลสในอนาคตได้ไซร้. ถ้าเช่นนั้น มรรคก็ย่อมละกิเลส
ที่ยังไม่เกิดได้ ย่อมละกิเลสที่ยังไม่บังเกิดไม่เกิดคือไม่ปรากฏได้, กิเลสที่เป็น
อนาคตใดไม่มี ย่อมละกิเลสนั้นได้. ก็ถ้าว่ามรรคนั้นย่อมละกิเลสอันเป็นปัจจุ-
บันไดไซร้ ถ้าเช่นนั้นผู้ถูกย้อมด้วยราคะ ย่อมละราคะได้ ถูกโทสะประทุษ-
ร้าย ย่อมละโทสะได้ ลุ่มหลงด้วยโมหะย่อมละโมหะได้ กระด้างด้วยมานะ ย่อม
ละมานะได้ ผู้ถูกต้องด้วยทิฏฐิ ย่อมละทิฏฐิได้ ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจะ ย่อมละ
อุทธัจจะได้ ถึงความไม่ตกลงใจด้วยวิจิกิจฉา ย่อมละวิจิกิจฉาได้ ผู้ดำเนินไป
ด้วยกำลังอนุสัย ย่อมละอนุสัยได้. ธรรมคำธรรมขาวย่อมเป็นไปคู่กัน มรรค
ภาวนาย่อมเศร้าหมอง ถ้าเช่นนั้นมรรคภาวนาย่อมไม่มี การทำให้แจ้งผลก็
ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี กระนั้นหรือ.
มรรคภาวนามี ฯลฯ ธรรมาภิสมัยมี. เหมือนอย่างอะไร. เหมือนต้น
ไม้อ่อน ฯลฯ สิ่งที่ไม่ปรากฏ ย่อมไม่ปรากฏ. ต้นไม้ยังไม่เกิดผลมาแล้วในบาลี.
แต่พึงแสดงโดยต้นไม้ที่เกิดผล. เหมือนต้นมะม่วงอ่อนมีผล. พวกมนุษย์
บริโภคผลของต้นมะม่วงอ่อนนั้น. ทำผลที่เหลือให้หล่นแล้วใส่ตะกร้าจนเต็ม
คราวนั้น บุรุษอื่น เอาขวานตัดต้นมะม่วงนั้น. ผลของมะม่วงนั้นในอดีตยัง
ไม่สูญไป. ผลอนาคตปัจจุบันก็ไม่สูญ เป็นอันไม่สูญทั้งนั้น. เพราะมนุษย์
ทั้งหลายบริโภคผลในอดีต. ผลในอนาคตยังไม่เกิด จึงไม่อาจทำให้สูญเสียได้.

แต่สมัยใดต้นมะม่วงนั้นถูกตัด ในตอนนั้นผลนั่นแหละย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น
แม้ผลในปัจจุบันก็ยังไม่สูญ. แต่ถ้าต้นไม้ไม่พึงถูกตัดไซร้ ผลของต้นไม้ที่อาศัย
รสดินและรสน้ำ พึงเกิดย่อมไม่สูญ. เพราะผลเหล่านั้นที่ยังไม่เกิด ก็ย่อมไม่
เกิด ที่ยังไม่งอก ก็ย่อมไม่งอก ที่ยังไม่ปรากฏ ก็ย่อมไม่ปรากฏ ฉันใด มรรค
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ยังละกิเลสทั้งหลาย อันต่างด้วยอดีตเป็นต้นไม่ได้ แม้
ยังละไม่ได้ ก็ละไม่ได้. เพราะเธอยังมิได้กำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลาย กิเลสเหล่า
ใดพึงเกิดขึ้น กิเลสเหล่านั้น ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิด ที่ยังไม่บังเกิดย่อม
ไม่บังเกิด ที่ยังไม่ปรากฏย่อมไม่ปรากฏ เพราะยังมิได้กำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยมรรค พึงให้ความนี้แจ่มแจ้งว่าด้วยยาที่ดื่ม เพื่อไม่ให้หญิงที่ลูกยังอ่อน
คลอดอีกและเพื่อให้คนเจ็บป่วยหายจากโรค. มรรคละกิเลสเหล่าใดได้อย่างนี้
กิเลสเหล่านั้นไม่พึงกล่าวว่า เป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบัน อนึ่ง ไม่ใช่มรรค
ย่อมละกิเลสไม่ได้. มรรคย่อมละกิเลสเหล่าใดได้ ท่านกล่าวว่า อุปฺปนฺนานํ
ปาปกานํ
เป็นอาทิหมายถึงกิเลสเหล่านั้น. มรรคมิใช่จะละกิเลสได้อย่างเดียว
เท่านั้น แต่เพราะยังละกิเลสทั้งหลายไม่ได้ อุปาทินนกขันธ์พึงเกิดขึ้น ย่อมละได้
แม้ซึ่งอุปาทินนกขันธ์นั้น . สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า นามและรูป พึงเกิดขึ้นใน
สังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้ เว้นในภพ 7 เพราะการดับ
แห่งอภิสังขารและวิญญาณด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ นามและรูปเหล่านั้นย่อม
ดับไปในที่นั้น.
พึงทราบความพิสดารดังต่อไปนี้. มรรคย่อมออกจากอุปาทินนะและ
อนุปาทินนะคือวิบากและกรรมด้วยประการฉะนี้. แต่เมื่อว่าโดยภพ โสดาปัตติ-
มรรคย่อมออกจากอบายภพ สกทาคามิมรรคย่อมออกจากสุคติภพส่วนเดียว.
อนาคามิมรรคย่อมออกจากสุคติกามภพ. อรหัตมรรคย่อมออกจากรูปภพและ
อรูปภพ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อรหัตมรรคออกจากภพทั้งปวง. เมื่อเป็น

เช่นนั้นการเจริญเพื่อเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมอันยังไม่เกิดขึ้นในขณะแห่งมรรค
เป็นอย่างไร. หรือเพื่อความตั้งมั่นแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างไร.
เพื่อความเป็นไปแห่งมรรคนั่นเอง. เพราะมรรคเมื่อเป็นไปอยู่ท่านกล่าวว่ามรรค
ยังไม่เกิดแล้วเพราะยังไม่เคยเกิดมาก่อน. เพราะผู้กล่าวมาสู่ฐานะที่ไม่เคยมา
หรือเสวยอารมณ์ที่ไม่เคยเสวยย่อมกล่าวว่า เรามาสู่ฐานะอันไม่เคยมาแล้ว.
หรือว่าเราเสวยอารมณ์อันไม่เคยเสวยแล้ว ความเป็นไปแห่งมรรคนั้นแหละ
ชื่อว่า ฐิติ เพราะเหตุนั้นควรกล่าวว่า ฐิติยา ภาเวติ ให้มรรคเจริญเพื่อ
ความตั้งมั่น.
ความย่อในอิทธิบาทท่านกล่าวไว้แล้วในเจโตขีลสูตร. ชื่อว่า อุปสม-
คามี
เพราะถึงความสงบระงับหรือถึงเพื่อความสงบกิเลส. ชื่อว่า สมฺโพธคามี
เพราะถึงความตรัสรู้หรือถึงเพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้มรรค.
บทมีอาทิว่า วิเวกนิสฺสิตา อาศัยวิเวกท่านกล่าวไว้แล้วในการสังวร
ในอาสวะทั้งปวง. นี้เป็นความสังเขปในบทนี้. ส่วนโพธิปักขิยกถานี้ ท่านกล่าว
ไว้ในวิสุทธิมรรคโดยพิสดารแล้ว .
พึงทราบวินิจฉัยในวิโมกขกถาดังต่อไปนี้. บทว่า วิโมกฺเข ชื่อว่า
วิโมกข์ เพราะอรรถว่ากระไร. เพราะอรรถว่าหลุดพ้นดี ก็วิโมกข์นี้คืออะไร.
วิโมกข์มีอรรถว่าหลุดพ้นด้วยดีแม้จากธรรมเป็นข้าศึกชื่อว่า อธิมุจฺจนฏฺโฐ มี
อรรถว่าหลุดพ้นดี . มีอรรถว่าพ้นด้วยดีแม้จากอารมณ์ทั้งหลายด้วยสามารถความ
ไม่ยินดี. ท่านอธิบายไว้ว่าวิโมกข์เป็นไปในอารมณ์ เพราะหมดความหวั่นใจ
ด้วยความไม่ถูกข่ม ดุจทารกปล่อยอวัยวะนอนบนตักบิดา. แต่ความนี้ไม่มีใน
วิโมกข์สุดท้าย. มีในวิโมกข์ต้น ๆ ทั้งหมด. ในบทว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ
ผู้ได้รูปฌาน ย่อมเห็นรูปนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ . รูปฌานอันให้เกิดด้วยอำนาจ
นีลกสิณเป็นต้นในบรรดากสิณมีผมในภายในเป็นต้น ชื่อว่า รูป. ชื่อว่า รูปี

เพราะมีรูปฌานนั้น. บทว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ เห็นรูปภายนอก คือ
เห็นรูปมีนีลกสิณเป็นต้นแม้ภายนอกด้วยฌานจักษุ. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงถึง
รูปาวจรฌาน 4 ของบุคคลผู้มีฌานอันให้เกิดแล้วในกสิณทั้งหลายที่มีวัตถุภาย
ในและภายนอก. บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี คือผู้ไม่มีรูปสัญญาในภายใน.
อธิบายว่า มีรูปาวจรฌานอันยังไม่เกิดในกสิณมีผมเป็นของตน. ด้วยบทนี้ท่าน
แสดงถึงรูปาวจรฌานของผู้มีฌานซึ่งทำบริกรรมอย่างดีในภายนอกแล้วให้เกิด
ในภายนอก. ด้วยบทว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโต โหติ ผู้น้อมใจเชื่อว่ากสิณ
เป็นของงามอย่างเดียวนี้ ท่านแสดงถึงฌานในวรรณกสิณ มีนีลกสิณเป็นต้น
อันบริสุทธิ์ ในบทนั้นการผูกใจว่างามไม่มีในอัปปนาภายในก็จริง แต่ถึงดัง
นั้น พระโยคาวจรใด ทำสุภกสิณให้เป็นอารมณ์หมดจดด้วยดีอยู่. เพราะพระ-
โยคาวจรนั้น ย่อมถึงความเป็นผู้ควรกล่าวว่า เป็นผู้น้อมใจเชื่อว่างาม. ฉะนั้น
ท่านจึงแสดงไว้อย่างนี้. แต่ในปฏิสัมภิทามรรคท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า วิโมกข์
เพราะเป็นผู้น้อมใจเชื่อว่างามเป็นอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีจิตสหรคต
ด้วยเมตตาแผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่. เพราะเป็นผู้เจริญเมตตาสัตว์ทั้งหลายจึงไม่น่า
เกลียด. มีจิตสหรคตด้วยกรุณามุทิตาและอุเบกขาแผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่. เพราะ
เป็นผู้เจริญกรุณามุทิตาและอุเบกขา สัตว์ทั้งหลายจึงไม่น่าเกลียด ชื่อว่า วิโมกข์
เพราะเป็นผู้น้อมใจเชื่อว่างามอย่างนี้. ในบทว่า สพฺพโส รูปสญฺญานํ เพราะ
ล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเป็นอาทิ บทที่ควรกล่าวทั้งหมดท่านกล่าวไว้
แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า อยํ อฏฺฐโม วิโมกฺโข นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ 8 คือ
นี้ชื่อว่าวิโมกข์อันสูงสุดข้อที่ 8 เพราะสละขันธ์ 4 หลุดพ้นแล้วโดยประการ
ทั้งปวง.
พึงทราบวินิจฉัยในอภิภายคนกถาดังต่อไปนี้. บทว่า อภิภายตนานิ
คือเหตุเครื่องครอบงำ. ครอบงำอะไร. ครอบงำธรรมอันเป็นข้าศึกบ้าง

อารมณ์บ้าง. เพราะอภิภายตนะเหล่านั้น ย่อมครอบงำธรรมเป็นข้าศึก โดย
ความเป็นข้าศึก. ครอบงำอารมณ์เพราะความที่บุคคลเป็นผู้ยิ่งด้วยญาณ.
อนึ่งในบทมีอาทิว่า อชฺฌตฺตํ รูปสญฺญี ผู้มีความสำคัญในรูปภายใน
มีความดังต่อไปนี้. ย่อมชื่อว่ารูปสัญญี ผู้มีความสำคัญในรูปภายใน ด้วย
สามารถบริกรรมรูปภายใน. เพราะเมื่อทำบริกรรม นีลบริกรรม ในภายใน
ย่อมทำที่ผม. ที่ดี หรือที่ดวงตา. เมื่อทำปีตบริกรรม ย่อมทำที่มันข้น ที่ผิว
ที่ฝ่ามือ ที่ฝ่าเท้าหรือที่ความเหลืองของดวงตา. เมื่อทำโลหิตบริกรรม ย่อม
กระทำเนื้อ ที่โลหิต ที่ลิ้น ที่มีสีแดงของดวงตา. เมื่อกระทำ โอทาตบริกรรม
ย่อมทำที่กระดูก ที่ฟัน ที่เล็บ หรือที่ความขาวของดวงตา. แต่กสิณนั้น ไม่
เขียวดี ไม่เหลืองดี ไม่แดงดี ไม่ขาวดี ย่อมเป็นกสิณไม่บริสุทธิ์.
บทว่า เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ผู้หนึ่งเห็นรูปภายนอกความ
ว่า นิมิตภายนอกเกิดขึ้นภายในเพราะทำบริกรรมของผู้ใด ผู้นั้น เราเรียกว่า
เป็นผู้หนึ่ง มีความสำคัญรูปภายในเห็นรูปภายนอก ด้วยสามารถแห่งบริกรรม
ภายใน และแห่งอัปปนาภายนอกอย่างนี้. บทว่า ปริตฺตานิ รูปภายนอกเล็กคือ
ไม่โต บทว่า สุวณฺณทุพฺพณฺณานิ คือมีผิวพรรณดีหรือมีผิวพรรณทราม.
พึงทราบว่า นี้ท่านกล่าวว่าเป็นอภิภายตนะ ด้วยสามารถรูปเล็กนั้นเอง. บท
ว่า ตานิ อภิภุยฺย ครอบงำรูปเหล่านั้น ความว่า เหมือนคนมีน้ำย่อยอาหารดี
ได้อาหารเพียงทัพพีเดียว คิดวามีอะไรที่ควรบริโภคในอาหารนี้ จึงหยิบเอามา
ปั้นเป็นคำเดียวฉันใด. บุคคลผู้ยิ่งด้วยญาณมีญาณเฉียบแหลมคิดว่า มีอะไรที่
ควรเข้าถึงในอารมณ์เล็กน้อยนี้. นี้ไม่ใช่ภาระของเราจึงครอบงำรูปเหล่านั้น
เข้าถึงสมาบัติ. อธิบายว่ายังอัปปนาให้ถึงในรูปนี้พร้อมกับการเกิดแห่งนิมิต.
ท่านกล่าวถึงความผูกใจรูปนั้นด้วยบทนี้ว่า ชานามิ ปสฺสามิ เรารู้ เราเห็น.
ผู้นั้น เมื่อออกจากสมาบัติแล้ว ไม่เข้าสมาบัติในภายใน.

บทว่า เอวํ สญฺญี โหติ มีความสำคัญอย่างนี้ คือด้วยอาโภคสัญญา
บ้าง (ความสำคัญด้วยความผูกใจ) ด้วยฌานสัญญาบ้าง (ความสำคัญด้วยฌาน)
อภิภวสัญญา (ความสำคัญด้วยความครอบงำ) ย่อมมีแก่ผู้นั้นแม้ในภายใน
สมาบัติ. ส่วนอาโภคสัญญา ย่อมมีแก่ผู้ออกจากสมาบัติ. บทว่า อปฺปมาณานิ
หาประมาณมิได้ คือมีประมาณเจริญได้แก่มาก. พึงทราบความในบทว่า
อภิภุยฺย ครอบงำ ดังต่อไปนี้. เหมือนบุรุษผู้กินจุครั้นได้อาหารมื้อเดียว ก็คิด
ว่าอาหารแม้อื่นจงมี อาหารแม้อื่นจงมี อาหารมื้อเดียวจักทำอะไรแก่เราได้ จึง
ไม่เห็นอาหารนั้นมากพอฉันใด. บุคคลผู้ยิ่งด้วยญาณผู้มีญาณเฉียบแหลมคิดว่า
จะพึงเข้าถึงญาณนี้ได้อย่างไร. นี้ไม่มีประมาณหามิได้ ภาระในการทำ
ความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เดียวมีอยู่แก่เรา จึงครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วเข้า
สมาบัติ. อธิบายว่ายังอัปปนาให้ถึงในจิตนี้พร้อมกับให้เกิดนิมิต. บทว่า
อุชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี มีความสำคัญในอรูปภายใน ความว่า ไม่มีความสำคัญ
บริกรรมในรูปภายในเพราะไม่ได้หรือเพราะไม่มีประโยชน์. บทว่า เอโก
พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ
ผู้หนึ่งเห็นรูปภายนอก ความว่า บริกรรมก็ดีนิมิต
ก็ดีของผู้ใดเกิดขึ้นในภายนอก. ผู้นั้นมีความสำคัญในอรูปภายในอันเกิดขึ้นด้วย
สามารถบริกรรม และอัปปนาภายนอกอย่างนี้ท่านกล่าวว่าผู้หนึ่งเห็นรูปภายนอก.
บทที่เหลือในบทนี้มีนัยดังกล่าวแล้วในอภิภายตนะที่ 4. ก็ในอภิภายตนะ 4 นี้
อภิภายตนะเล็กน้อยมาแล้วด้วยสามารถวิตกจริต. อภิภายตนะหาประมาณมิได้
มาแล้วด้วยสามารถโมหจริต. รูปผิวทองมาแล้วด้วยสามารถโทสจริต. ผิวทราม
มาแล้วด้วยสามารถราคจริต. รูปเหล่านี้เป็นที่สบายของคนเหล่านั้น. อนึ่งความ
ที่รูปเป็นที่สบายของคนเหล่านั้น ท่านกล่าวไว้ในจริตนิเทศในวิสุทธิมรรค โดย
พิสดารแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในอภิภายตนะที่ 5 เป็นต้นดังต่อไปนี้. บทว่า นีลานิ
เขียว ท่านกล่าวรวมสีทั้งหมด. บทว่า นีลวณฺณานิ มีวรรณเขียว คือเขียว
ด้วยสี. บทว่า นีลทสฺสนานิ เขียวล้วน ท่านอธิบายว่า วรรณะไม่มี
ปน ไม่มีช่องปรากฏด้วยการแสดงให้เห็นเป็นสีเขียวล้วน. ส่วนบทว่า
นีลนิภาสานิ มีรัศมีเขียวนี้ท่านกล่าวด้วยสามารถแสง. อธิบายว่ามีแสงเขียว
ประกอบด้วยรัศมีเขียว. ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึงความที่รูปเหล่านั้นบริสุทธิ์. จริง
อยู่ท่านกล่าวอภิภายตนะ 4 เหล่านี้ด้วยสามารถวรรณะบริสุทธิ์.
บทว่า อุมฺมารปุปฺผํ ดอกผักตบ เพราะดอกไม้นี้แม้ปรากฏว่าอ่อน
สนิทก็เขียวล้วน. แต่ดอกอัญชันเป็นต้นปรากฏเป็นดอกไม้ตระกูลขาว. เพราะ
ฉะนั้นท่านถือเอาดอกผักตบนี้แหละ ไม่ถือเอาดอกอัญชันเป็นต้นเหล่านั้น.
พาราณเสยฺยกํ ผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี คือทำในกรุงพาราณสี. ได้ยินว่า
ในกรุงพาราณสีนั้น แม้ฝ้ายก็อ่อนนุ่ม แม้คนปั่นฝ้ายก็ฉลาด แม้น้ำก็สะอาดเย็น
สนิท เพราะฉะนั้นผ้าจึงเกลี้ยงทั้งสองข้าง. ในสองข้างปรากฏเกลี้ยงนุ่มสนิท.
ในบทมีอาทิว่า ปีตานิ พึงทราบโดยนัยนี้เหมือนกัน. เมื่อกำหนดนีลกสิณ
ย่อมถือเอานิมิตในสีเขียว.
อนึ่งในกสิณนี้ การทำกสิณ การบริกรรมและแบบแห่งอัปปนามีอาทิ
คือในดอกไม้ ในผ้า หรือในวรรณธาตุทั้งหมดท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วใน
วิสุทธิมรรค. บทว่า อภิญฺญาโวสานปารมิปฺปตฺตา บรรลุบารมีอันเป็น
ที่สุดแห่งอภิญญา คือสาวกทั้งหลายเจริญธรรมเหล่านั้นในสติปัฏฐานเป็นต้น
ในก่อนจากนี้แล้วบรรลุพระอรหัตชื่อว่าเป็นผู้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่ง
อภิญญา. อนึ่งสาวกทั้งหลายก็ชื่อว่าเป็นผู้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
เพราะความเป็นผู้มีความชำนาญอันสะสมมาแล้ว ในอภิภายตนะ 8 เหล่านี้.

พึงทราบวินิจฉัยในกสิณกถาดังต่อไปนี้. ชื่อว่า กสิณ เพราะอรรถว่า
ทั้งสิ้น. ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นเขตหรือเป็นที่ตั้งมั่นแห่งธรรม
ทั้งหลายมีกสิณนั้นเป็นอารมณ์. บทว่า อุทฺธํ เบื้องบน คือมุ่งหน้าไปสู่ท้อง
ฟ้าเบื้องบ น บทว่า อโธ เบื้องต่ำ คือมุ่งหน้าไปสู่พื้นดินเบื้องต่ำ. บทว่า
ติริยํ เบื้องขวางคือกำหนดโดยรอบดุจบริเวณของพื้นที่. บางคนเจริญกสิณ
เบื้องบนเท่านั้น. บางคนเจริญกสิณเบื้องต่ำ. บางคนเจริญกสิณโดยรอบ ๆ ด้วย
เหตุนั้นแหละ ผู้ประสงค์จะเห็นรูปดุจยังความสว่างให้ผ่องใส. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทมีอาทิว่า ปฐวีกสิณเมโก สญฺชานาติ อุทฺธํ-
อโธติริยํ
ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง.
บทว่า อนฺวยํ คือในทิศน้อยใหญ่. ก็บทนี้ท่านกล่าวเพื่อไปถึงความไม่มีอื่น
ของทิศหนึ่ง เหมือนผู้เข้าไปสู่แม่น้ำ น้ำเท่านั้น ย่อมมีในทิศทั้งหมด มิใช่
อย่างอื่นฉันใด. ปฐวีกสิณ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นปฐวีกสิณเท่านั้น.
กสิณนั้นไม่มีกสิณอื่นปะปน. ในกสิณทั้งหมดก็มีนัยนี้. บทว่า อปฺปมาณํ นี้
ท่านกล่าวด้วยสามารถกสิณนั้นแผ่ไปไม่มีประมาณ. เพราะกสิณนั้น แผ่ไป
ด้วยใจย่อมแผ่ไปตลอดดวงกสิณเท่านั้น. ย่อมถือเอาประมาณว่านี้เป็นเบื้องต้น
ของกสิณนั้น นี้เป็นท่ามกลาง.
อนึ่งในบทว่า วิญฺญาณกสิณํ นี้มีความดังต่อไปนี้ วิญญาณที่เป็นไป
แล้ว ในอากาศที่เพิกกสิณแล้ว. ในบทว่า วิญฺญาณกสิณํ นั้นพึงทราบความที่
กสิณนั้นทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องขวางในวิญญาณอันเป็นไปแล้วนั้น
ด้วยสามารถอากาศอันเพิกกสิณแล้วในอากาศอันเพิกกสิณ ด้วยอำนาจแห่งกสิณ.
นี้เป็นความย่อในบทนี้. ส่วนปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านี้ ท่านกล่าวไว้แล้วใน
วิสุทธิมรรค โดยพิสดารตามนัยแห่งการเจริญกรรมฐาน. แม้ในที่นี้ก็พึงทราบ

ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา โดยความเป็นผู้มี
ความชำนาญอันสะสมไว้แล้ว.
ในฌาน 4 อันเป็นลำดับต่อจากนี้ก็อย่างเดียวกัน. ส่วนบทที่ควรกล่าว
ในที่นี้ ได้กล่าวไว้แล้วในมหาอัสสปุรสูตร. แต่ในวิปัสสนาญาณท่านกล่าว
ความแห่งบทมีอาทิว่ารูปี ผู้ได้รูปฌานไว้แล้ว.
บทว่า เอตฺถ สิตํ เอตฺถ ปฏิพทฺธํ คือ วิญญาณ อาศัยและ
เนื่องอยู่ในกาย คือ มหาภูตรูป 4 นี้. บทว่า สุโภ คืองาม. บทว่า โชติมา
คือตั้งอยู่ในอาการอันบริสุทธิ์. บทว่า สุปริกมฺมกโต ทำบริกรรมเป็นอย่าง
ดี คือนายช่างเจียระไนดีแล้ว ไม่มีหินและกรวด. บทว่า อจฺโฉ สุกใส คือ
สุกใสในตัว ผุดผ่องในตัว. บทว่า วิปฺปสนฺโน คือ แวววาว. บทว่า
สพฺพาการสมฺปนฺโน สมส่วนทุกอย่างคือสมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงมีขัดและ
เจาะเป็นต้น. ท่านแสดงถึงสมบัติของสีด้วยบทมีอาทิว่า นีลํ. เพราะด้ายที่ร้อย
ไว้เช่นนั้นปรากฏ. ในบทว่า เอวเมว นี้พึงทราบการเปรียบเทียบอย่างนั้น.
เพราะกรชกาย ดุจแก้วมณี. วิปัสสนาญาณดุจด้ายที่ร้อยไว้. ภิกษุผู้ได้วิปัสสนา
ดุจบุรุษผู้มีจักษุ. กาลที่รู้แจ้งกายอันมีมหาภูตรูป 4 ของภิกษุผู้นั่งกำหนด
วิปัสสนาญาณ ดุจกาลที่รู้แจ้งแก้วมณีของผู้วางแก้วมณีไว้ที่มือแล้วพิจารณาดูว่า
นี้แลแก้วมณีฉะนั้น. กาลที่รู้แจ้งอารมณ์ มีผัสสะเป็นที่ 5 ก็ดี จิตเจตสิกทั้ง
ปวง ก็ดี วิปัสสนาญาณก็ดี ของภิกษุผู้นั่งกำหนดวิปัสสนาญาณ ดุจกาลที่รู้
แจ้งด้ายว่า ด้ายนี้ร้อยอยู่ในแก้วมณีนั้นฉะนั้น. ก็การรู้แจ้งญาณเป็นอย่างไร.
เพราะการรู้แจ้งญาณนั้นเป็นการรู้แจ้งบุคคลนั่นแหละ. อนึ่ง วิปัสสนาญาณนี้
เป็นลำดับของมรรค. เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเมื่อปรารภ วาระแห่งอภิญญา
จึงไม่มีวาระในระหว่างแห่งวิปัสสนาญาณนั้น. ฉะนั้นท่านจึงแสดงไว้ในที่นี้นั่น

แหละ. อนึ่งเพราะความสะดุ้งต่อภัยย่อมเกิดแก่ผู้ไม่พิจารณาด้วยสามารถความ
ไม่เที่ยงเป็นต้น ผู้ได้ยินเสียงน้ำกลัวด้วยหูทิพย์ ผู้ระลึกถึงขันธ์น่ากลัวด้วย
ระลึกชาติได้ ผู้เห็นรูปน่ากลัวด้วยตาทิพย์. ฉะนั้นท่านจึงไม่แสดงบทนั้นไว้ใน
ที่นี้ แม้เพื่อตระเตรียมเหตุ บรรเทาความกลัว ของผู้มีได้ทำการพิจารณา
ด้วยสามารถความไม่เที่ยงเป็นต้น ผู้บรรลุอภิญญานั้น. แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่า
สาวกทั้งหลายบรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาด้วยพระอรหัต.
พึงทราบเพราะความเป็นผู้มีความชำนาญใน มโนมยิทธิ ดังต่อไปนี้.
ในบทเหล่านั้นบทว่า มโนมยํ คือเกิดแต่ใจ. บทว่า สพฺพงฺคปญฺจงคํ มี
อวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน คือประกอบด้วยองค์ทั้งหมด และด้วยองค์ 5.
บทว่า อหีนินฺทฺริยํ มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง คือมีอินทรีย์ไม่วิกลด้วยสัณฐาน.
เพราะรูปนิรมิตของผู้มีฤทธิ์เป็นเช่นเดียวกับรูปนั้น ด้วยอาการทุกอย่างอย่างนี้
คือหากผู้มีฤทธิ์ขาว แม้รูปนิรมิตนั้นก็ขาว. หากผู้มีฤทธิ์มีหูมิได้เจาะ แม้รูป
นั้นก็มีหูมิได้เจาะ. แม้อุปมา 3 ข้อ มีอาทิว่า มุญฺชมฺหา อีสิกํ พึงชักไส้
ออกจากหญ้าปล้อง ท่านกล่าวเพื่อแสดงความเหมือนกัน. เพราะไส้ภายในหญ้า
ปล้องนั้นก็เช่นกับหญ้าปล้องนั่นเอง. เมื่อชักดาบออกจากฝักใส่ดาบที่ชักออก
เมื่อชักศัสตราออกจากฝักใส่ศัสตราที่ชักออก ดาบ ศัสตรา ก็เช่นกับฝักนั่นเอง.
แม้บทว่า กรณฺฑา นี้เป็นชื่อของคราบงู มิใช่เป็นชื่อของหีบไม้ไผ่. เพราะ
คราบงูก็เช่นกับงู. ในบทนั้น ท่านแสดงดุจชักด้วยมือว่าบุรุษพึงชักงูออกจาก
คราบ ที่แท้พึงทราบว่าชักด้วยจิตของบุรุษนั้นนั่นเอง. เพราะธรรมดางูนี้ย่อม
ลอกคราบด้วยตนเอง ด้วยเหตุ 4 เหล่านี้คือ ตั้งอยู่ในกำเนิดของตน 1 อาศัย
ระหว่างไม้ หรือระหว่างต้นไม้ 1 ดุจกินร่างกายด้วยกำลัง คือ พยายามฉุดตัวออก
จากคราบ 1 รังเกียจคราบเก่า 1 ไม่สามารถจะลอกคราบ ด้วยวิธีอื่นจากนั้นได้.

เพราะฉะนั้นพึงทราบว่าท่านกล่าวบทนี้หมายถึงการชักด้วยจิต. ข้อเปรียบเทียบ
ในบทนี้มีดังนี้ว่า สรีระของภิกษุนี้เช่นกับหญ้าปล้องเป็นต้น. รูปนิรมิตเช่นกับ
ไส้เป็นต้น. ก็ในที่นี้จะกล่าวถึง วิธีนิรมิต ด้วยว่าการกล่าวถึง อภิญญา 5 มี
อิทธิวิธะเป็นต้น ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคทุกประการ. พึง
ทราบตามนัยดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นแหละ. เพราะในที่นี้ท่านกล่าวเพิ่ม
เพียงอุปมาเท่านั้น. พึงเห็นภิกษุผู้ได้ญาณคือ อิทธิวิธะ ดุจช่างหม้อผู้ฉลาด
ฉะนั้น. พึงเห็น อิทธิวิธญาณ ดุจดินเหนียวที่ช่างหม้อตกแต่งเป็นอย่างดี
ฉะนั้น. พึงเห็นการแสดงฤทธิ์ของภิกษุนั้น ดุจการกระทำให้เป็นภาชนะชนิด
ต่าง ๆ ตามที่ตนต้องการแล้ว ๆ. แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่า พระสาวกทั้งหลาย
บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีความชำนาญ
อันสะสมไว้แล้วนั่นแล. ในอภิญญา 4 อื่นจากนี้ก็เหมือนอย่างนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาแห่ง ทิพโสตธาตุ ดังต่อไปนี้. บทว่า
สงฺขธโม คือบุรุษเป่าสังข์. บทว่า อปฺปกสิเรเนว คือ โดยไม่ยากนั่นเอง.
บทว่า วิญฺญาเปยฺย คือให้รู้. พึงเห็นว่ากาลที่พระโยคีรู้แจ้งเสียงของมนุษย์
ทั้งใกล้และไกล และนิพพาน ดุจกาลที่เมื่อบุรุษเป่าสังข์ให้รู้แจ้งไปใน 4 ทิศ
อย่างนี้นั้น เสียงสังข์นั้น ก็ปรากฏชัด แก่สัตว์ทั้งหลายผู้กำหนดว่า นี้
เสียงสังข์ฉะนั้น. พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาแห่ง เจโตปริยญาณ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทหโร คือหนุ่ม. บทว่า ยุวา คือประกอบด้วยความเป็นหนุ่ม. บทว่า
มณฺฑนกชาติโก ชอบแต่งตัว คือ แม้ยังหนุ่มสาวก็ไม่เกียจคร้านถึงจะมีผ้า
และร่างกายเศร้าหมอง ก็ยังชอบแต่งตัว. อธิบายว่า อาบน้ำวันละ 2- 3 ครั้ง
แล้วนุ่งห่มผ้าสะอาด และแต่งตัว. บทว่า สกณิกํ หน้ามีไฝ คือหน้ามีโทษ
ด้วยโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง มีจุดดำ ตุ่มกลม หูด เป็นต้น. ในบทนั้นพึงทราบว่า

เหมือนอย่างว่า เมื่อบุรุษนั้นส่องดูเงาหน้า โทษของใบหน้าย่อมปรากฏฉันใด
เมื่อภิกษุนั่งกำหนดจิตด้วยเจโตปริยญาณก็ฉันนั้น จิต 16 อย่างของผู้อื่นย่อม
ปรากฏ. บทที่ควรกล่าวในอุปมาแห่งปุพเพนิวาสญาณเป็นต้นทั้งหมด ท่าน
กล่าวไว้แล้วในมหาอัสสปุรสูตร. บทว่า อยํ โข อุทายิ ปญฺจโม ธมฺโม
ดูก่อนอุทายี นี้เป็นธรรมข้อที่ 5 คือ ท่านกล่าวธรรมข้อที่ 5 ทำ 19 บรรพให้
เป็นธรรมข้อเดียวด้วยข้อปฏิบัติ. เหมือนอย่างว่าท่านทำ 11 บรรพใน
อัฏฐกนาครสูตร ให้เป็นธรรมข้อเดียวด้วยสามารถเป็นคำถาม ฉันใด พึงทราบ
ว่า 19 บรรพในที่นี้ท่านทำให้เป็นธรรมข้อเดียวด้วยสามารถการปฏิบัติฉันนั้น.
พึงทราบสาวกทั้งหลายบรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา ในส่วนทั้งหลาย 8
ตามลำดับในบรรดาธรรม 19 บรรพเหล่านี้ ในวิปัสสนาญาน และอาสวัก-
ขยญาณด้วยสามารถแห่งพระอรหัต. ในบทที่เหลือทั้งหลาย พึงทราบด้วย
สามารถแห่งความเป็นผู้มีความชำนาญอันสะสมมาแล้ว. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง
ง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้

จบอรรถกถามหาสกุลุทายิสูตรที่ 7

8. สมณมุณฑิกสูตร


เรื่องอุคคาหมานปริพาชก


[256] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ปริพาชกชื่อ
อุคคาหมานะ เป็นบุตรนางสมณมุณฑิกา พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่
ประมาณ 500 อาศัยอยู่ ณ อารามของพระนางมัลลิการาชเทวี ในตำบลเอก-
สาลาชื่อว่า ติณฑุกาจีระ [แวดล้อมด้วยแถวต้นพลับ] เป็นที่ประชุมแสดง
ลัทธิของนักบวช ครั้งนั้นช่างไม้ผู้หนึ่งชื่อ ปัญจกังคะ ออกจากเมืองสาวัตถี
เพื่อจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเวลาเที่ยงแล้ว ครั้งนั้น เขามีความดำริว่า
เวลานี้มิใช่กาลที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้น
อยู่และไม่ใช่สมัยที่จะไปหาภิกษุทั้งหลายผู้เจริญทางใจ ภิกษุทั้งหลายผู้เจริญ
ทางใจก็หลีกเร้นอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก
สมณมุณฑิกาบุตร ที่อารามของพระนางมัลลิการาชเทวี ณ ตำบลเอกสาลาชื่อ
ว่าติณฑุกาจีระ เป็นที่ประชุมแสดงลัทธิของนักบวชเถิด ลำดับนั้น ช่างไม้
ปัญจกังคะจึงเข้าไปยังอารามของพระนางมัลลิการาชเทวี ณ ตำบลเอกสาลาชื่อว่า
ติณฑุกาจีระ.

ติรัจฉานกถา


[357] สมัยนั้น อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร นั่งอยู่
กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ ซึ่งกำลังพูดติรัจฉานกถาหลายประการ ด้วยการ
ส่งเสียงอื้ออึงอึกทึก.